What is Programmer

อะไรคืออาชีพ "โปรแกรมเมอร์"

อะไรคืออาชีพ "โปรแกรมเมอร์"

โปรแกรมเมอร์ หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย ( สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้


ลักษณะงานของโปรแกรมเมอร์ จะทำหน้าที่ นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งจะมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไป อย่างเช่นภาษา JAVA, JavaScript, PHP, C#, Python และ ภาษาอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ส่วนใหญ่โครงสร้างภาษาจะคล้ายๆกัน เมื่อเขียนโปรแกรมแล้วหลังจากนั้นก็ทำการทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง


โปรแกรมเมอร์ยังต้องทำหน้าที่รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบ (User) จากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จัดทำแผนภูมิ (Flowchart) ขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด และถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนผังสายงาน แต่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด


code

โปรแกรมเมอร์ มีแบบไหนบ้าง

1. System Programmer


ถึงแม้ว่าโปรแกรมเมอร์ในภาพรวมจะคือคนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อแบ่งออกให้ชัดเจนมากขึ้นโปรแกรมเมอร์ก็มีแบ่งสายตามลักษณะงานเช่นเดียวกัน อย่าง System Programmer จะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ (OS : Operation System) เป็นอย่างดี สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบได้ โดยทำงานด้วยภาษา C, C++ หรือ Assembly เพื่อใช้ในการจัดการกับโปรแกรมระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงมีความรู้ในเรื่องฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์


ตัวอย่าง : CAD Engineer, System Engineers, DevOps Developer, Software Developer


System Programmer

2. Application Programmer


เป็นผู้เขียน และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เฉพาะอย่าง เพื่อการใช้งานในด้านต่าง ๆ อย่างเช่น โปรแกรมที่ใช้วัดผลในองค์กร โปรแกรมระบบบุคลากร หรือโปรแกรมด้านบัญชี ซึ่งทำขึ้นเพื่อจัดระเบียบ และพัฒนาในแต่ละของบริษัท


ตัวอย่าง : SDE1, SDE2, Software Engineer

Application Programmer

3. Web Programmer


คือนักเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษา VB, PHP, Java, C# และ ASP เป็นต้น โดยทำงานร่วมกับ Web Developer และ Web Designer เพื่อให้การออกแบบเว็บไซต์ ออกมาตรงตามความต้องการ และตอบสนองได้อย่างที่ต้องการ


ทั้งนี้ในส่วน Web Designer คือผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบ งานกราฟฟิค การออกแบบเว็บไซต์ ให้ตรงความต้องการ ตอบสนองความต้องการในการใช้งาน โดยงานส่วนนี้ก็เปรียบได้เหมือนกับ มัณฑนากร ที่มีหน้าที่ออกแบบตกแต่งภายในร้านค้าให้มีความสวยงามนั่นเอง ในส่วนของ Web Developer และ Web Programmer ก็เทียบได้กับ ทีมวิศวกร เขียนแบบ การดำเนินการก่อสร้างอาคาร ร้านค้าต่าง ๆ ทั้งนี้ในด้านการดูแลเว็บไซต์ ก็จะต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเว็บไซต์ ที่เรียกว่า Web Master อีกด้วย โดย Web Master ก็จะเปรียบได้กับผู้จัดการร้านค้า หรือ บริษัทนั่นเอง


ตัวอย่าง : Frontend Developer, Backend Developer, Full stack web developer


Web Programmer

4. Game Programmer


การสร้างเกมจำเป็นต้องมีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจยาก และจำนวนที่เหมาะสมต่อ Production House หรือ Game Developers Studio นั้นควรอยู่ที่ขั้นต่ำ 2 คน และมีความสามารถเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ๆ ได้ ใช้เครื่องประมวลผลเกม หรือ Game Engine ช่วยในการพัฒนาได้ ซึ่งปัจจุบันมี Game Engine หลากหลายตัวให้ดาวน์โหลดไปใช้ช่วยเหลือในการพัฒนา ทั้งฟรีและจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ไม่ว่ายังไงก็ตาม ตำแหน่งนักพัฒนา Programmer หรือ Developers นี้ก็สามารถ Outsources ได้


ตัวอย่าง : Game Designer, Audio Engineer, Lead Programmer(Games), Animators(Games)


Game Programmer

ทักษะที่โปรแกรมเมอร์ต้องมี

- มีใจรักในการเขียนโปรแกรม

- พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

- มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเข้ารับศึกษาได้ในสถานบันการศึกษาที่เรียนทำการสอนหรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น สาขาวิศวกรรมซอต์แวร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT)

- มีทักษะในการการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์

- มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

- รู้เท่าทันเทคโนโลยี อัพเดทข่าวสารกับตัวเองให้ตลอดเวลา

- เข้าใจจุดประสงค์ของลูกค้า

หนทางสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์


ฝึกเขียนโปรแกรม


ไม่มีอะไรดีไปกว่าการลงมือทำซ้ำๆ เช่นเดียวกันกับนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยการฝึกฝนการเขียนโปรแกรมบ่อยๆ โดยเริ่มจากภาษาโครงสร้าง อย่าง PHP, HTML หรือ C ก่อน แล้วค่อยพัฒนาไปเรื่อยๆ เช่น Java หรือ C# เป็นต้น จากนั้นก็ลองเขียนโปรแกรมง่ายๆ เพื่อฝึกและเก็บชั่วโมงบิน สร้างความเคยชินและคุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ความต้องการของตลาดแรงงาน want


การพัฒนาศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ยังสามารถขยายตัวไปได้อีกมาก จำนวนโปรแกรมเมอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงยังไม่เพียงพอกับความต้องการขยายตลาดวงการไอที อาชีพนี้จึงยังมีแนวโน้มความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างสูงและให้ผลตอบแทนสูง สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และความสามารถมาก ดังนั้นโปรแกรมเมอร์จึงควรที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงใช้ในงานและพัฒนาฝีมือให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น


เส้นทางอาชีพตั้งแต่เริ่ม จนประสบความสำเร็จสูงสุด


ในการเรียน ตั้งแต่สมัยเรียนต้องเรียนสายวิทย์ คณิต และภาษาอังกฤษ และต่อมหาวิทยาลัยในคณะเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นต้น จริง ๆ เราจะเริ่มเรียนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอะไรก็ได้ เช่น Python, HTML, PHP, Java, JavaScript สำหรับการหางาน อาชีพนี้หางานได้ไม่ยาก ถ้าเขียนภาษาอะไรเก่งๆภาษาเดียวที่ยังมีคนใช้อยู่ก็มีคนรับงานแล้ว แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าภาษานี้ยังไม่ล้าสมัยไป? นี่ก็เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ที่จะต้องรู้เองครับ บางคน…อาจจะไปหยุดในการเป็นพนักงาน แต่ถ้าบางคนคิดมากกว่าที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ อยากจะมุ่งหน้าต่อไป ทำไปเรื่อย ๆ เราก็อาจจะได้เป็นหัวหน้า มีความสามารถ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ จนชำนาญ จะไปหางานทำต่อในต่างประเทศก็ได้ครับ เพราะที่นั่นน่าจะมีความต้องการอาชีพนี้อยู่พอสมควร ถ้าไม่อยากหยุดแค่การเป็นโปรแกรมเมอร์ อยากมีธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์เป็นของตัวเอง ก็ก่อตั้งบริษัท ถึงจุดสูงสุดแล้ว คุณอาจจะเป็นคนที่เปลี่ยนโลกได้..ด้วยเทคโนโลยีของคุณ เหมือนกับ บิลล์ เกตส์ สตีฟ จ็อบส์ หรืออีลอน มัสก์ก็เป็นไปได้


“Don’t be a programmer, be a ‘Problem Solver’.”





Watch some videos